• การดูแลเครื่องเชื่อมไฟฟ้า

  • แน่ใจว่าเครื่องมืออุปกรณ์เหมาะสมกับแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าและมีการต่อสายดินที่ถูกต้อง การติดตั้งและตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้านี้จะต้องเป็นหน้าที่ของ
    ช่างไฟฟ้าเท่านั้น      
    จัดหาฟิวส์หรืออุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาด ขนาดของอุปกรณ์นี้ขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เครื่องเชื่อมจะใช้
    จัดตำแหน่งให้ที่จ่ายกระแสไฟหลักอยู่ส่วนที่มีปิดมิดชิดภายในเครื่องเชื่อม

    การบำรุงรักษา

    ตรวจและบันทึกผลการตรวจเป็นประจำ ตรวจระดับและความชื้นของน้ำมันหล่อเย็นในหม้อแปลง

    ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือ ตามคู่มือแนะนำไว้

    ต้องแน่ใจว่าที่เครื่องเชื่อมมีที่ระบายอากาศและพัดลมระบายความร้อนในตัว และต้องใช้งานได้

    ช่างเชื่อม

    ต้องตรวจสอบสายต่อภายนอกเครื่องเชื่อมทุกวัน จดบันทึกและรายงายสิ่งผิดปรกติของด้ามจับลวดเชื่อม ฉนวน ความร้อนที่เกิดขนาด หรือข้อ บกพร่องอื่น ๆ

    ต้องแน่ใจว่า ข้อต่อสายแน่นอยู่เสมอและหน้าสัมผัสต่างๆ ต้องสะอาด

    ตรวจสอบสภาพสายตัวนำ มิให้เกิดการเสียหาย

    รายงาน และทำความสะอาด หากมีน้ำมันรั่วออกมาจากอุปกรณ์ และต้องมั่นใจว่ามีการะบายก๊าซไอเสียออกไป

    ขณะเติมน้ำมันใส่ถังระวังอย่าให้น้ำมันหก ถ้าหกต้องทำความสะอาดทันที

    การเชื่อมที่ใช้กระแสไฟสูงมาก สายไฟที่ใช้ต้องเป็นชนิดที่ทนกระแสสูงสุดในการใช้งานได้

    การตรวจสอบหัวจับลวดเชื่อม

    สิ่งที่ต้องตรวจสอบ

    -          การหลุดหลวมของสกรูยึดหัวจับลวดเชื่อม

    -          รอยไหม้ หรือการแตกร้าวของฉนวน ที่จะทำให้สัมผัสถูกตัวนำได้

    -          ความร้อนเกินขนาด และความเสียหายของสายเคเบิ้ล

    ยึดสายดินให้แน่นกับตัวชิ้นงานด้วยสลักเกลียว โดยยึดกับหูยึดปลายสาย หรือที่จับยึดปลายสาย การใช้ปลายสายพันไว้กับสลัก เกลียว อาจจะหลุดหรือหลวมได้ง่ายเมื่อใช้ไปนานๆ

    ต้องแน่ใจว่า สายไฟฟ้าที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นสายดินหรือสายด้านลวดเชื่อมสามารถทนกระแสไฟฟ้าใช้งานสูงสุดได้

เกร็ดน่ารู้